สวิทซ์โยกสลับ แก๊ส-น้ำมันที่มี 6 ขา
สวิทช์ ที่ใช้งานกันอยู่ตอนนี้เรียกอย่างเป็นทางการ ว่า Selector switch (มีหน้าที่คือเลือก ว่าจะเอาอันไหน กรณี นี้ เราใช้ 2 คอนแทค คือ ชุดแรก เลือก อุปกรณ์ ว่าจะเป็นปั๊มน้ำมัน หรือว่าติ๊กแก๊ส ชุดสอง เลือกว่าจะวัด อะไร จากลูกลอยน้ำมันหรือว่า ลูกลอยแก๊ส)

การปรับปรุงสวิทซ์เพิ่มเติม
เพื่อให้สามารถ กดเปลี่ยนจากน้ำมันเป็นแก๊ส โดยไม่ต้องเร่งรอบช่วย
หลักการคือ เมื่อเรากดเปลี่ยนจากน้ำมันเป็นแก๊ส หัวฉีดน้ำมันจะหยุดจ่ายน้ำมันทันที แต่แก๊สยังไหลเข้าไม่ทันจึงมีอาการสะดุดหรือเครื่องดับ จึงต้องเร่งรอบไว้ไม่น้อยกว่า 1500 รอบเพื่อชดเชยในจังหวะที่เครื่องยนต์ไม่มีเชื้อเพลิง
จึงได้มีพัฒนาโดยการเพิ่ม Relay อีก 1 ชุดและต่อ Capacitor เพื่อสำรองไฟไว้ใช้ในการหน่วงเวลา ให้หัวฉีดน้ำมันทำงานต่ออีก 3-10 วินาที(แล้วแต่ขนาดของ Cap ที่ใช้) ในจังหวะที่เรากดเปลี่ยนเป็นแก๊ส ซึ่งคล้ายๆ กับทำงาน 2 ระบบพร้อมกันเป็นเวลา 3-10 วินาที นั่นเอง ดังนั้นการส่งต่อระบบน้ำมันเป็นแก๊ส จึงไม่มีอาการสะดุด และสามารถกดเปลี่ยน จากน้ำมันเป็นแก๊สได้โดยไม่ต้องเร่งรอบช่วย
ลองดูจากภาพวงจรละกันครับ

ภาพนี้เป็น วงจรน้ำมัน เมื่อสวิทซ์ อยู่ที่ OFF เมื่อไม่มีไฟไปเลี้ยง Coil ของ Relay วงจรของ Relay จะจ่าย inp ให้กับ nc ซึ่งมีผลทำให้
1. ชุดลูกลอยน้ำมันก็จะต่อเข้ากับหน้าปัทม์รถยนต์
2. ไฟฟ้าที่จ่ายมาจากกล่อง ECU จะจ่ายให้กับ Coil ของ Relay ชุดที่สอง และมีการเก็บไฟสำรองไว้ที่ Cap ด้วย
3. เมื่อ Relay ชุดที่สอง ทำงาน วงจร Relay จะจ่ายไฟให้กับ กล่องควบคุมหัวฉีด และปั๊มติ๊ก
ดังนั้นเราจึงสามารถใช้งานในระบบน้ำมันได้ตามปกติ เมื่อสวิทซ์เป็น OFF ตามรูป

และเมื่อเรากดสวิทซ์ เป็น ON จะมีกระแสไฟฟ้าจ่ายให้กับ Coil ของ Relay ชุดที่ 1 วงจร Relay ก็จะจ่าย inp ให้กับ no ผลที่ได้คือ
1. ลูกลอยแก๊ส จะต่อเข้ากับหน้าปัทม์รถยนต์
2. เส้นไฟจาก ECU จะไปจ่ายให้กับ ติ๊กแก๊ส เพื่อเปิดแก๊สเข้าหม้อต้ม
3. เมื่อไม่มีกระแสไฟฟ้ามาจ่ายให้กับ Relay ชุดที่ 2 Capacitor ซึ่งสำรองไฟอยู่ จะยังคงจ่ายให้กับคอลย์ของ Relay ชุดที่สองอยู่ วงจร no ยังเปิด จึงยังคงมีการจ่ายไฟให้กับชุดหัวฉีดและปั๊มติ๊ก
4. เมื่อกระแสไฟฟ้าจาก Cap หมดลง Relay จะตัดกลับมาที่ขา nc ซึ่งเป็นการตัดไฟไม่จ่ายให้หัวฉีด เป็นการตัดระบบน้ำมัน
ด้วยวิธีการนี้ เมื่อกดสวิทซ์เปิด ติ๊กแก๊สเปิดให้แก๊สเข้าหม้อต้ม ในจังหวะเดียวกันหัวฉีดน้ำมันก็ยังคงทำงานอยู่ด้วย เมื่อไฟใน Cap หมดลง แก๊สก็จะไหลเข้าสู่ระบบพอดี จังหวะส่งต่อระบบน้ำมันเป็นแก๊ส จึงไม่กระตุกหรือดับ

แต่ทั้งนี้รถยนต์แต่ละคันจะใช้เวลาในการหน่วงไม่เท่ากัน Cap ที่นำมาสำรองไฟจะจ่ายให้กับ Coil ของ Relay ถ้า Relay ขนาดใหญ่มากเท่าไหร่ ก็จะใช้กระแสมากขึ้นระยะเวลาที่หน่วงได้ก็จะลดลง ดังนั้นจึงต้องมีการเพิ่มจำนวน Cap เพื่อเพิ่มระยะเวลา สำหรับผม ซื้อ Cap ขนาด 3600 uF มา 3 ตัวๆละ 5 บาท พอเอามาต่อขนานกัน ผลปรากฏว่า
1 ตัว น้อยไป ได้ 2 วินาที
2 ตัว ก็ยังน้อยไปยังดับอยู่ ได้ 4 วินาที
3 ตัว คิดว่ามากไป เครื่องมีอาการสะดุด 6 วินาที
จึงต้องไปซื้อ ขนาด 4800 uF มาอีก 2 ตัว ตัวละ 6 บาท
แล้วต่อ 4800 1 ตัว 3600 อีก 1 ตัว ต่อขนานกัน
เป๊ะเลยครับทีนี้ ที่รอบเดินเบากดเปลี่ยนได้ลื่นเลยครับ รถผมน่าจะอยู่ที่ 5 วินาทีครับ
เอาไปให้ช่างไฟดูได้ครับ หรือถ้าทำเองได้ก็ลองได้ครับ แต่ข้อควรระวัง คือ ไฟที่ดึงมาเข้า Relay ควรผ่านสวิทซ์กุญแจ และควรมีฟิวท์กันไฟช๊อตไว้ด้วย
ผมใช้ไฟจากวิทยุติดรถยนต์ ซึ่งผ่านสวิทซ์กุญแจและมีฟิวท์มาจ่ายให้ Relay ครับ
และการต่อสายไฟต้องต่อให้แน่นหนา และใช้ท่อหด หุ้มสายไฟให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันปัญหาสายไฟหลุดหรือผ้าพันสายหลวมหรือหลุดทำให้ไฟช๊อตกันน่ะครับ
แต่ถ้าคิดว่ายุ่งยากเกินไป ก็ต่อแบบธรรมดา ไม่ต้องมีการหน่วงเวลาช่วยก็ได้ครับ สำหรับท่านที่มักจะใช้แก๊สเป็นนิจ แทบจะไม่เคยใช้น้ำมัน ก็ต้องแบบนี้เลยครับ ได้สวิทซ์สวยเก๋ ตามแต่จะหาได้ ใช้งานง่าย มีไฟบอกสถานะครับ

GasThai.Com ขอขอบคุณ
บทความ คุณ Oil
เรียบเรียง คุณต่าย
จัดส่งข้อมูล คุณนัท305
|