
จากการที่ผมใช้รีเลย์ตัดหัวฉีดออกในโหมดแก๊ส ทำให้แทบไม่มีน้ำมันสูญเปล่า นั่นคือ น้ำมันไม่หายจากถังอีกนอกจากการระเหย แต่ผลเสียในช่วงการเปลี่ยนจากน้ำมันเป็นแก๊สคือ รถจะวูบไปประมาณ เกือบ ๆ 1วินาทีอันเนื่องจากหัวฉีดหยุดทำงานทันทีแต่แก๊สยังเพิ่งผ่านโซลินอยด์เข้าหม้อต้ม จากการประมาณเวลาไม่ถึง 1 วินาที ผมจึงใช้วงจร RC Time constant โดยคำนวณจาก R ของคอล์ยรีเลย์ตัวที่ตัดหัวฉีด (K2) = 80 โอห์ม และใช้ C 8200 ไมโครฟารัด 25 โวลต์ขึ้นไป ได้ค่าเวลาที่หน่วงประมาณ 0.65 วินาที แล้วใส่ไดโอด D5 อนุกรมคอล์ยรีเลย์ K2 เพื่อให้ C คายประจุเฉพาะ K2 เมื่อเปลี่ยนจากน้ำมันเป็นแก๊ส รีเลย์ที่ตัดหัวฉีดจะยังทำงานเนื่องจาก C จะยังคายประจุผ่านขดลวดของ K2 น้ำมันที่เหลือในท่อยังคงเลี้ยงเครื่องยนต์อยู่ในขณะนี้แก๊สจะเคลื่อนผ่านหม้อต้มเข้ามิกเซอร์ จนกระทั่ง C คายประจุหมด K2จะหยุดทำงาน ทำให้หัวฉีดถูกตัดและระบบแก๊สทำงานต่อเนื่องโดยรถไม่วูบอีก ในเครื่องรุ่นอื่น ๆ ต้องทดสอบหาค่าประมาณของเวลาที่รถวูบเมื่อสับเปลี่ยนจากน้ำมันไปแก๊ส เพื่อใช้คำนวณค่า C
โดยหาค่าประมาณได้จากสูตร t=RC
เมื่อ R = ค.ต.ท. ของคอล์ยรีเลย์ หน่วยเป็นโอห์ม
t = เวลาที่ต้องการให้หน่วง หน่วยเป็นวินาที
C = ค่า คาปาซิเตอร์ หน่วยเป็น ฟารัด
ส่วนการแสดงสถานะด้วย LED นั้น D1 คร่อมหน้าสัมผัสตำแหน่งน้ำมันเพื่อแสดงผลสถานะการใช้แก๊ส ส่วน D4 คร่อมหน้าสัมผัสตำแหน่งแก๊สเพื่อแสดงการใช้ น้ำมัน (กลับกันนะครับเพราะใช้ Loading Effect ในการทำให้ LED ดับหรือสว่าง) ส่วน D2 และ D3 มีไว้พื่อป้องกันอันตรายจาก Back e.m.f. ที่จะเกิดกับ LED ในขณะที่คอล์ยรีเลย์หยุดทำงาน
K1 เป็นรีเลย์ตัดต่อปั๊มติ๊กของระบบน้ำมัน
K2 เป็นรีเลย์ตัดต่อไฟเลี้ยงหัวฉีด(ของลุงชูมีตั้ง 2 ตัวของผมมีตัวเดียว)
K3 เป็นรีเลย์ตัดต่อโซลินอยด์แก๊ส(ภาษาชาวบ้านเรียกติ๊กแก๊ส)
GasThai.Com ขอขอบคุณ
บทความโดย คุณจตุรงค์ จตุรเชิดชัยกุล(ปากเกร็ดไดรเวอร์ )
รวบรวม/เรียบเรียง คุณอุดมศักดิ์ มุขไพศาล(ต่าย)
ส่งข้อมูล คุณณัฐพล ราธี(นัท305)
|