ข้อเปรียบเทียบ |
NGV (หน่วย กิโลกรัม) |
LPG (หน่วย ลิตร) |
หมายเหตุ |
1. ถ้าต้องการกำลังเครื่องยนต์ |
อืดกว่า |
ดีกว่า อัตราเร่งดีกว่า |
ทดสอบในรถรุ่นเดียวกัน |
2. ถ้าต้องการความประหยัด ค่าใช้จ่าย เรื่องเชื้อเพลิง |
ประหยัดกว่า วิ่งได้ 10 กม/กก (0.75 บาท/กม) |
กินมากกว่า วิ่งได้ 10 กม/ลิตร .หรือ 1 บาท/กม |
โดยวิ่งทดสอบ 500 กิโลเมตร อัตราความเร็ว 90 กม/ชม. |
3. จำนวนสถานีบริการ หรือ ปั้มแก๊ส |
น้อยกว่า มีใน กทมและจังหวัดใหญ่ๆบางจังหวัด |
มากกว่า มีทุกเส้นทาง และเกือบทุกจังหวัด |
ทุกวันนี้ต่อคิวเติม NGV แถวยาวมากรอนาน เติมช้า และต้องแย่งกับรถเมล์ รถบรรทุก รถแท๊กซี่ ซึ่งปัญหานี้ ต้องรอ ปตท.ขยายปั้มเพิ่ม |
5. การดัดแปลงเครื่องยนต์ เพื่อติดตั้ง |
มากกว่า ต้องรอบครอบมากๆทุกจุด |
น้อยกว่า ติดตั้งง่ายไม่ยุ่งยาก |
ในแบบเครื่องยนต์เบนซิน ส่วนดีเซลนั้นยุ่งยากกว่า |
6. ความเสื่อมเครื่องยนต์ถ้าอยู่ในเงื่อนไขเดียวกัน |
เครื่องยนต์ใช้งานหนักขึ้น ความร้อนสูงกว่า |
ความร้อนสูงกว่าระบบน้ำมัน |
LPG มีผลการใช้งานในประเทศมากว่า 30 ปี ยืนยันความสามารถเครื่องยนต์ NGV มีความบริสุทธิประมาณ 75% เครื่องจึงร้อนกว่า |
7. การดูแลรักษาระยะยาว |
เหมือนกัน |
เหมือนกัน |
ต้องหมั่นเช็คระบบความร้อน ระบบหล่อเย็น เช็ครั่ว การทำงานทั่งไปมากเป็นสองเท่าของรถเดิมๆ |
8. การได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและปตท |
ได้รับการสนันสนุน ลดภาษี ควบคุมราคา ส่งเสริม |
ไม่ได้รับการสนับสนุน ไม่ส่งเสริม |
ปัจจุบัน เราผลิต LPG จากอ่าวไทย 60% จากการกลั่นน้ำมัน 40% ครัวเรือนใช้ 55% รถยนต์ใช้ ไม่เกิน 20% ที่เหลือภาคอุตสาหกรรมใช้ NGV นำเข้าจากพม่า และอ่าวไทย |
9. ระยะทางในการเดินทาง/แก๊ส 1 ถัง |
จุได้ไม่เกิน 12 กิโลกรัม น้ำหนักรวมก๊าซ 80 กก. |
จุ 85% ของ 70 ลิตร น้ำหนักรวมแก๊ส 35 กก.
|
สมมุติว่าใช้ถังขนาด 70 ลิตรเท่ากัน |
10. เรื่องราคาค่าติดตั้ง |
แพงกว่า 2 เท่า 3.5-6.5 หมื่น |
ถูกกกว่า 1.8-3.8 หมื่น |
ถ้าคิดในระบบเดียวกันเช่นระบบดูด หรือ หัวฉีด เครื่องยนต์ 4 สูบ |
11. อุปกรณ์เสริมในการใช้งาน |
มีมากพอกันไม่แตกต่าง |
มีมากพอกันไม่แตกต่าง |
แต่ตัวหน่วงเวลาจุดระเบิดสำหรับ NGV รถบางรุ่นไม่สามารถใช้ได้ เจ้าของรถต้องตรวจสอบก่อน |
12. ราคาเชื้อเพลิง ณ. ปัจจุบัน |
8.5 บาทต่อ กิโลกรัม |
11.5 บาท ต่อ ลิตร |
แนวโน้ม ราคา LPG จะสูงขึ้นอีก |
13. ด้านความปลอดภัย เกี่ยวกับไฟไหม้ |
เกิดได้พอๆกัน |
เกิดได้พอๆกัน |
หากแก๊สรั่งออกมาปริมาณเท่าๆกันและอยู่ในกระโปรงหน้าหากมีประกายไฟ อยู่กระโปรงหลังถ้าถังรั่วก็ลอยอยู่ในนั้นไม่ได้ลอยไปไหน |
14. อันตรายจากแรงดัดจากถัง กรณีระเบิดจากแรงอัด |
มากกว่า คือ 3000 PSI |
น้อยกว่า คือ 130 PSI โอกาศระเบิดยากกว่า |
ดังนั้นถัง NGV จะต้องรอบครอบและรัดกุมมาก ทุกครั้งที่เติมควรลงจากรถยนต์ หากเป็นรถโดยสาร ไม่ควรแวะเติมช่วงมีผู้โดยสาร ถัง NGV ระเบิดโดยมากเวลาเติม |
15. จุดคุ้มทุนในการลงทุนติดตั้ง |
ช้ากว่า |
เร็วกว่า |
แต่ระยะยาว ราคา NGV ถูกกว่า จะประหยัดในภายหลัง นอกจากมีการปรับราคาขึ้นเป็น 50% ของดีเซลในอนาคต อาจจะแพงกว่า LPG ที่ลอยตัวแล้ว |
16. การดูแลและควบคุณการติดตั้งและตรวจสอบจากรัฐ |
เข้มกว่า ต้องตรวจทุกปี เนื่อจห่วงความปลอดภัยถัง |
ต้องแจ้งขนส่งเช่นกัน ตรวจก่อนแจ้งขนส่ง |
รถติด NGV ทุกคันต้องผ่านการตรจสอบจากหน่วยงานกลางหรือวิศวกรผู้ได้รับอนุญาต และ จะต้องนำรถไปตรวจสภาพทุกๆปีก่อนชำระภาษี |
17. จำนวนนศูนย์ติดตั้งและบริการ หลังการขาย |
มีน้อยกว่า |
มีมากกว่า |
เนื่องจาก ศูนย์ต้องได้รับการรับรองจาก ปตท และ กรมการขนส่ง จึงมีไม่มาก |
18. เวลาในการเติม |
ช้ากว่า 10 - 15 นาที (ประมาณ 10-12 กก) |
เร็วกว่า 5-7 นาที (85% ของ 70ลิตร) |
สมมุติว่าใช้ถังขนาด 70 เท่ากัน |
19. คุณภาพอุปกรณ์การติดตั้งและถัง |
อุปกรร์ ตามมาตรฐานสากล ถังเติมได้ 10000 ครั้ง ISO 11439 |
อุปกรณ์มาตรฐานสากล ถัง มอก.370/2525 |
เพราะเป็นของใหม่ นำเข้า ซึ่งได้รับมาตรฐานยุโรปอยู่แล้ว ถัง NGV จำต้องรองรับแรดดันมหาศาลจำเป้นต้องเข้ารับการตรวจสอบทุกปี |
20. ด้านอุปกรณ์บำรุงรักษาหลังการใช้งาน |
แพงกว่า น้อยกว่า |
ถูกกว่าและมีผู้ค้าจำนวนมาก |
เปรียบเทียบด้วยข้อมูลปัจจุบัน |
21. การนำเสนอข่าวและข้อเท็จจริงจากสื่อและหน่วยงาน |
ได้รับการสนันสนุนจากรัฐ องค์กรเอกชนและ สื่อมากในด้านดี |
ไม่ได้รับความเป็นธรรม มักจะสื่อในทาง จำเลย |
แต่มีบางสื่อนะครับที่ยังรายงานเที่ยงตรงอยู่ครับ สื่อและข้าราชการที่เกี่ยวข้อง มักตีข่าวแก๊สปิโตรเลี่ยมเหลว LPG ว่าเป็นแก๊สหุงต้ม โดยใส่ความว่าผู้ใช้รถยนต์นำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ แล้วอุตสาหกรรม ที่เคยใช้น้ำมันเตา แล้วหันมาใช้ LPG เพราะถูกกว่า น้ำมันเตาราคาลิตรละ 15 บาท LPG ลิตรละ 9 บาท |